ยางบวมน้ำ (Swell Stop) |
เป็นวิวัฒนาการอีกก้าวหนึ่งสำหรับอุปกรณ์ก่อสร้างที่เกี่ยวกับระบบการป้องกันการรั่วซึมของน้ำที่ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันสูง ง่ายและสะดวกกว่าวิธีเก่า แม้ในงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง มีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากยางกันซึม Rubber Water Stop ทั่วไป คือ เมื่อใช้งานไปแล้วในกรณีเมื่อเกิดการรั่วซึมของน้ำเกิดขึ้นในแนวต่อคอนกรีตยางบวมน้ำจะขยายตัวบวมหรือพองขึ้นโดยอัตโนมัติ จนแน่นรอยต่อหรือช่องว่างนั้น จนทำให้น้ำไม่สามารถซึมผ่านไปได้ นับเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าและง่ายต่อการนำไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวางในการป้องกันการรั่วซึมของน้ำ กับงานคอนกรีตทั้งที่สร้างขึ้นมาใหม่และงานต่อเติมของเก่าสามารถใช้แทน Water Stop ที่ทำมาจากยางหรือพีวีซี ได้ดีและสะดวกกว่า |
ยางบวมน้ำหรือวอเตอร์สต๊อปที่ทำมาจากยางที่มีคุณสมบัติเป็นไฮโดรฟิลลิคผสมแบนโทไนท์ เมื่อยางบวมน้ำสัมผัสกับน้ำจะดูดน้ำและขยายตัวขึ้น เพื่ออุดช่องว่างหรือโพรงต่างๆ ภายในคอนกรีตป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านได้ สำหรับใช้ในรอยต่อคอนกรีต HYPERSWELL สามารถใช้ติดตั้งในรอยต่อของโครงสร้างฐานราก ที่ไม่เคลื่อนตัว(Construction joint) ที่อาจจะมีน้ำซึมผ่าน รอยต่อโครงสร้างคอนกรีตที่สัมผัสกับน้ำ รอยต่อในการเทพื้นคอนกรีต รอยต่อระหว่างพื้นคอนกรีตกับผนังคอนกรีตบ่อน้ำ ผนังหรือพื้นบริเวณชั้นใต้ดิน แผ่นพื้นวางบนดิน แมนโฮล ผนังหล่อสำเร็จ บริเวณรอบท่อ อุโมงค์ บ่อน้ำ สระว่ายน้ำ แท้งค์น้ำดื่ม หรือบริเวณใดก็ตามป้องกันการซึมผ่านของน้ำ |
การใช้งาน ด้วยส่วนผสมที่เหมาะสมของยางบิวทิวและแป้งเบนโทไนท์ซึ่งมีความสามารถในการขยายตัวเมื่อสัมผัสน้ำทำให้ยางบวมน้ำมีความสามารถในการกั้นน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานในรอยต่อโครงสร้างที่ไม่เคลื่อนไหวหรือรอยต่อที่ไม่มีการขยายตัว ในการติดตั้งควรให้มีระยะห่างจากขอบคอนกรีตด้านนอกไม่น้อยกว่า 5 ซม. งานเชื่อมต่อคอนกรีตระดับพื้นกับพื้น หรือพื้นกับผนัง สระว่ายน้ำ ประกอบโครงสร้างสำเร็จรูป งานประกอบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปขนาดใหญ่ใต้ดิน หรืออุโมงค์ งานทางด่วน โครงสร้างของสะพาน ท่อ ห้องใต้ดิน ถนน รอยต่อคอนกรีตของอาคาร ในระหว่างการก่อสร้าง ทุกรอยเชื่อมต่อของคอนกรีต ไม่ว่าจะเป็น คานหรือรอยต่อระหว่างผนัง พื้นเสา โครงคาน หรือ พื้นดาดฟ้าที่ต้องการการป้องกันน้ำรั่งซึมทุกจุด |
คุณสมบัติ |
1. สามารถติดตั้งได้ดดยง่ายไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ เพียงติดลงบนหน้าสัมผัสโครงสร้างหรือยืดติดด้วยตะปูคอนกรีต |
2. ใช้งานได้ยืดหยุ่นทั้งแนวตั้งและแนวนอน |
3. ใช้การต่อแบบต่อชน ลดโอกาสในการรั่งซึมผ่านทางรอยต่อของวอเตอร์สต๊อป |
4. การขยายตัวคงเดิมแม้น้ำจะออกไปจากระบบและยังคงสามารถในการกั้นน้ำเมื่อมีน้ำซึมผ่านเข้ามาอีกครั้ง |
5. ติดตั้งได้อย่างง่ายดายแม้บนพื้นผิวขรุขระ
|
6. คงความสามารถในการป้องกันน้ำซึมผ่านแม้ในสภาวะที่เปียกอยู่ตลอดเวลา |
7. ไม่มีสารอันตรายและปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน |
ค่าการรับแรงดันเทียบเป็นความสูงของน้ำ : 100 ม. |
ค่าความถ่วงจะเพาะ : ASTM D-71 1.50-1.85 |
การเปลี่ยนแปลงในสภาวะแห้ง/เปียก : ไม่มีผล |
อุณหภูมิการใช้งาน : -40oC to 80oC |
อัตราการขยายตัว : 300% |
สี : สีดำผิวเรียบ |
ค่าความแปรปรวน : ไม่เกิน 1% |
การยึดติดบนผิวคอนกรีต : ดีเยี่ยม |
Penetration Cone : ASTM D-217 481+5 |
ความปลอดภัย ไม่มีอันตรายใดๆ ในการใช้งานปกติกรุณาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารความปลอดภัยของวัสดุ |
อายุและการเก็บรักษา ควรเก็บในสภาวะที่อุณหภูมิห้อง เก็บในที่แห้งและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดด ในสภาวะที่เหมาะสม ปลอดภัยจากน้ำและความชื้น มีอายุไม่น้อยกว่า 1 ปี ยางบวมน้ำที่ได้รับน้ำขยายตัวมาแล้วไม่ควรนำกลับมาใช้ได้อีก |
ขั้นตอนการติดตั้ง |
1. ก่อนติดตั้งควรเตรียมพื้นผิวให้สะอาด แห้ง ปราศจากน้ำซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายตัวก่อนเวลาอันควร หากมีเศษผงหรือเศษปูนต้องทำการขจัดออกก่อนการติดตั้งยางบวมน้ำ |
2. นำยางบวมน้ำออกมาจากม้วน โดยดึงกระดาษที่กั้นออกพร้อมติดตั้งลงบนพื้นผิวรอยต่อคอนกรีต กดยางบวมน้ำลงไปเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เคลื่อนตัวเวลาเทคอนกรีต |
3. ในการต่อยางบวมน้ำบริเวณรอยต่อหรือจุดร่วมใดๆ ให้ใช้การต่อชน ห้ามต่อยางบวมน้ำซ้อนกันเด้ดขาด |
4. สามารถใช้ตะปูคอนกรีตตอกเป็นระยะประมาณ 30 - 40 ซม. เพื่อยึดยางบวมน้ำให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการสำหรับกรณีติดตั้งในแนวดิ่ง |
5. ห้ามใช้ยางบวมน้ำสัมผัสกับน้ำก่อนการเทคอนกรีต |
6. ในกรณีเมื่อต้องการต่อความยาว สามารถทำได้โดย ตัดยางให้เอียง 45 องศา ทั้งสองด้านนำมาวางต่อชนกันในตำแหน่งที่ต้องการและนำมาต่อชนด้วยกาวหรือตอกยึดหัวยางทั้งสองด้วยตะปูคอนกรีต |
7. การเทคอนกรีตไม่ควรเทคอนกรีตให้พุ่งใส่ที่ยางบวมน้ำโดยตรง |
|
รูปแบบการติดตั้ง |
|
|
|
|
ตารางอัตราการขยายตัวที่ 100% หมายถึงขนาดดั้งเดิม ผลที่แสดงทดสอบในห้องทดลองเท่านั้น |
|
|
|